เมนู

คาถานี้ ท่านเขียนไว้ในทีปังกรพุทธวงศ์ กถาพรรณานิทานของ
อรรถกถาธรรมสังคหะชื่ออัฏฐสาลินี แต่ในพุทธวงศ์นี้ไม่มี ก็การที่คาถานั้นไม่
มีนั่นแหละเหมาะกว่า ถ้าถามว่า เพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า เพราะกล่าว
มาแล้วในสุเมธกถาแต่หนหลัง.
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรทรงแสดงธรรม ธรรมาภิ-
สมัย การตรัสรู้ธรรมก็ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่นและสองหมื่น แต่ที่สุดแห่งการตรัสรู้
มิได้มีโดยจำนวนหนึ่งคน สองคน สาม และสี่คนเป็นต้น เพราะฉะนั้น
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร จึงแผ่ไปกว้างขวาง มีคนรู้กันมาก
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ธรรมาภิสมัย ได้มีเเก่สัตว์หนึ่งหมื่น สองหมื่น
ไม่นับการตรัสรู้ของสัตว์ โดยจำนวนหนึ่งคน สองคน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสวีสสหสฺสานํ ได้แก่ หนึ่งหมื่นและ
สองหมื่น. บทว่า ธมฺมาภิสมโย ได้แก่ แทงตลอดธรรม คือสัจจะ 4. บทว่า
เอกทฺวินฺนํ ความว่า ไม่นับโดยนัยเป็นต้นว่า หนึ่งคนและสองคน สามคน
สี่คน ฯลฯ สิบคน. ศาสนาชื่อว่าแผ่ไปกว้างขวาง ถึงความเป็นจำนวนมาก
เพราะการตรัสรู้นับไม่ถ้วนอย่างนี้ อันเทวดาและมนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตเป็นอันมาก
รู้ พึงรู้ว่าเป็นนิยยานิกธรรม อันเป็นความสำเร็จแล้วด้วยอธิศีลสิกขาเป็นต้น
และเจริญแล้วด้วยสมาธิเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร อันพระ-
องค์ทรงชำระบริสุทธิ์ดีแล้ว แผ่ไปกว้างขวาง คนเป็น
อันมากรู้กัน สำเร็จแล้ว เจริญแล้วในครั้งนั้น.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิโสธิตํ ได้แก่ อันพระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงชำระแล้ว ทำให้หมดจดด้วยดี ได้ยินว่า ภิกษุผู้มีอภิญญา 6 มีฤทธิ์
มาก สี่แสนรูป แวดล้อมพระทีปังกรศาสดาอยู่ทุกเวลา อธิบายว่า สมัยนั้น
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสกขะ ทำกาลกิริยา [มรณภาพ] ภิกษุเหล่านั้นย่อมถูกครหา
ภิกษุทั้งหมดจึงเป็นพระขีณาสพ ปรินิพพาน เพราะฉะนั้นแล ศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงบานเต็มที่ สำเร็จด้วยดี งดงามเหลือเกิน
ด้วยภิกษุขีณาสพทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ภิกษุสี่แสนรูป มีอภิญญา 6 มีฤทธิ์มากย่อม
แวดล้อม พระทศพลทีปังกร ผู้รู้แจ้งโลกทุกเมื่อ.
สมัยนั้น ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นเสขะยังไม่
บรรลุพระอรหัต ละภพมนุษย์ไป ภิกษุเหล่านั้นย่อม
ถูกครหา.
ปาพจน์คือพระศาสนา อันพระอรหันต์ผู้คงที่
เป็นขีณาสพ ไร้มลทิน ทำให้บานเต็มที่แล้ว ย่อม
งดงามทุกเมื่อ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาริ สตสหสฺสานิ พึงถือความ
อย่างนี้ว่า ท่านกล่าวว่า ฉฬภิญฺญา มหิทฺธิกา ดังนี้ก็เพื่อแสดงว่า ภิกษุ
เหล่านี้ ที่ท่านแสดงด้วยการนับแล้วมีจำนวนที่แสดงได้อย่างนี้. อีกนัยหนึ่ง
คำว่า ฉฬภิญฺญา มหิทฺธิกา พึงทราบว่าเป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถ
ฉัฏฐีวิภัตติว่า ฉฬภิญฺญานํ มหิทฺธิกานํ. บทว่า ปริวาเรนฺติ สพฺพทา